วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บันทึกงาน เดือนเมษายน 2555

วันที่ 3 เมษายน 2555 : วิเคราะห์ผล ผลการสอบ N-net ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. จังหวัดตราด
วันที่ 4 เมษายน 2555 : ร่วมประชุมผู้บริหารสัญจร ประจำเดือนเมษายน 2555 ณ กศน.อำเภอบ่อไร่
วันที่ 5 เมษายน 2555 : นิเทศการเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพ เพื่อการรับการประเมินภายนอก รอบที่ 3 ของ กศน.อำเภอบ่อไร่ ณ กศน.อำเภอบ่อไร่
วันที่ 17 - 20 เมษายน 2555 : เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์เนื้อหาและจัดทำโครงร่างเนื้อหารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษารายวิชา ของ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ณ โรงแรมไอส์แลนด์วิว จังหวัดฃลบุรี
วันที่ 22 - 27 เมษายน 2555 : เข้าร่วมเป็นวิทยากรที่ปรึกษา การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ตามคำสั่ง สำนักงาน กศน. ที่ 64 / 2555 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ท กรุงเทพฯ
วันที่ 30 เมษายน 2555 : เข้าเฝ้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)  ประจำปี 2554  ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

บทความวิชาการ : การพัฒนาหลักสูตร

    หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทาง
การปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
หลักสูตรที่ดี
ต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ
เพื่อให้มีเนื้อหาสาระทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม
เศรษฐกิจ เทคโนโลยี
และการเมือง     ซึ่งมีนักการศึกษาได้อธิบาย  และให้ความหมาย
การพัฒนาหลักสูตร
ดังนี้
                   1.     ความหมายของหลักสูตร
                           นักการศึกษา ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย    ขึ้นอยู่กับทัศนะ ความเชื่อ  แนวคิด ปรัชญาและประสบการณ์ ซึ่งสามารถประมวล
ความหมายของหลักสูตรที่สำคัญได้ ดังนี้
                           เซยเลอร์  อเล็กซานเดอร์  และเลวิส (Sayler, Alexander and Lewis.
1981 : 8)  
ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า  หลักสูตร หมายถึง  แผนการเรียน
การสอนที่จัดโอกาสในการเรียนรู้
ให้แก่บุคคลที่ได้รับการศึกษา
                            บีน  และคนอื่นๆ  (Beane & others. 1986 : 34 - 35)  สรุปความหมาย
ของหลักสูตร
ไว้โดยใช้เกณฑ์ความเป็นรูปธรรม  (Concrete)  ไปสู่นามธรรม  (Abstract)  และจากการยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง(School - centered) ไปสู่การยึด
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (
Learner - centered) โดยได้อธิบายไว้  ดังนี้
                                   1.     หลักสูตร  คือ  ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการศึกษา  (Curriculum  as  product)
                                   2.     หลักสูตร  คือ  โครงการหรือแผนการในการจัดการศึกษา 
(Curriculum  as  program)
                                   3.     หลักสูตร  คือ  การเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีความหมาย 
(Curriculum  as  intended  learning)
                                   4.     หลักสูตร  คือ  ประสบการณ์ของผู้เรียน 
(Curriculum  as experience  of  the  learner)
                           โอลิวา  (Oliva. 1992 : 8 – 9)  ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตร  โดยแบ่งเป็น
                                   1.  การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์  (Purpose)  หลักสูตร  จึงมี
ภาระหน้าที่ที่จะทำให้
ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไรหรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรแนวคิดนี้
จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการ
  ที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย  เช่น  หลักสูตร  คือ  การถ่ายทอด  มรดกทางวัฒนธรรม  หลักสูตร  คือ  การพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน   เป็นต้น
                                   2.     การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม  (Contexts)  นิยามหลักสูตรในลักษณะนี้  เป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตร  ซึ่ง
แล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีลักษณะเป็นอย่างไร
  เช่น  หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา  หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหลักสูตรเพื่อการปฏิรูปสังคม  เป็นต้น
                                   3.     การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการให้นิยามหลักสูตร  ในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ  ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  เช่น  หลักสูตร  คือ  กระบวนการแก้ปัญหา  หลักสูตร  คือ  การทำงานกลุ่ม  หลักสูตร  คือ  การเรียนรู้รายบุคคล  หลักสูตร  คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน  เป็นต้น
                           โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า  หลักสูตร คือ  แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียนโดยแผนงานต่างๆ จะถูก
กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
   มีขอบเขตกว้างขวาง  หลากหลาย  เพื่อเป็นแนวทาง
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ
  ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (Course) หรือเป็นรายวิชาย่อย (Sequence of courses)    ทั้งนี้ แผนงาน
หรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าว
อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียน ภายใต้
การบริหารและ
ดำเนินงานของสถานศึกษา
                           โซเวลล์  (Sowell. 1996 : 5)  ได้กล่าวว่า   มีผู้อธิบายความหมายของ
หลักสูตรไว้อย่าง
มากมาย เช่น หลักสูตรเป็นการสะสมความรู้ดั้งเดิม เป็นวิธีการคิด เป็นประสบการณ์ที่ถูกกำหนดไว้  เป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้ เป็นความรู้และ
คุณลักษณะของผู้เรียน
เป็นเนื้อหาและกระบวนการ  เป็นแผนการเรียนการสอน เป็น
จุดหมายปลายทางและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนและเป็น
ผลผลิตของระบบ
เทคโนโลยี
  เป็นต้น   โซเวลล์  ได้อธิบายว่า  เป็นเรื่องปกติที่นิยามความหมายของหลักสูตรมีความแตกต่างกันไป เพราะบางคนให้ความหมายของหลักสูตรในระดับที่
แตกต่างกันหรือ
ไม่ได้แยกหลักสูตรกับการจัดการเรียนการสอน แต่อย่างไรก็ตาม
โซเวลล์ ได้สรุปว่า
  หลักสูตร คือ การสอนอะไรให้กับผู้เรียน  ซึ่งมีความหมายที่กว้างขวาง  ที่รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ทักษะ และ ทัศนคติ  ทั้งที่ได้กำหนดไว้และไม่ได้กำหนดไว้
ให้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา
                           ชมพันธุ์   กุญชร    อยุธยา  (2540 : 3 – 5)  ได้อธิบายความหมายของ หลักสูตรว่า   มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่ความหมายที่แคบสุดจนถึงกว้างสุด  ซึ่งสามารถจำแนกความคิดเห็นของนักการศึกษาที่ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตร
แบ่งออกเป็น
  2  กลุ่มใหญ่ๆ  ได้ดังนี้
                                   1.     หลักสูตร  หมายถึง  แผนประสบการณ์การเรียน  นักการศึกษาที่มีความคิดเห็นว่า  หลักสูตร  หมายถึง  แผนประสบการณ์การเรียนนั้น  มองหลักสูตรที่เป็นเอกสารหรือโครงการของการศึกษาที่สถาบันการศึกษาไว้วางแผนไว้  เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้  หลักสูตรตามความหมายนี้ หมายรวมถึง  แผนการเรียนหรือรายวิชาต่างๆ ที่กำหนดให้เรียนรวมทั้งเนื้อหาวิชาของ
รายวิชาต่างๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล ซึ่งได้กำหนดไว้ใน
แผนความคิดเห็น
ของนักการศึกษากลุ่มนี้ ไม่รวมถึงการนำหลักสูตรไปใช้หรือการเรียน
การสอนที่ปฏิบัติจริง
                                   2. หลักสูตร  หมายถึง  ประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน  ที่สถาบันการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียนประกอบด้วย  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหา  การจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน
  การประเมินผล
                           รุจิร์  ภู่สาระ  (2545 : 1)  ได้อธิบายความหมายของหลักสูตรว่า  หมายถึง  แผนการเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย  และจุดประสงค์เฉพาะที่จะนำเสนอและจัดการเนื้อหา  รวมถึงแบบของการเรียนการสอนตามจุดประสงค์  และท้ายที่สุดจะต้องมี
การประเมินผลของการเรียน
                           จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านดังกล่าวพบว่า    มีการให้
นิยามแตกต่างกันไป
ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีเกณฑ์ที่ใช้ในการอธิบายแตกต่างกัน 
จากข้อมูลข้างต้นสามารถ
สรุปได้ว่า  หลักสูตร หมายถึง  แนวการจัดประสบการณ์
และ/หรือ เอกสาร
ที่มีการจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการ
จัดการศึกษา
โดยมีการกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตร
กำหนดไว้
                   2.     ความสำคัญของหลักสูตร
     สุมิตร  คุณานุกร (2536 : 199 -200)  กล่าวถึง ความสำคัญของ
หลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องชี้นำทางหรือเป็นบทบัญญัติ
ของรัฐในการจัดการศึกษา
 เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา และควบคุมการจัดการเรียนการสอนของ
สถานศึกษา
                           นอกจากนี้ ปฎล  นันทวงศ์ และไพโรจน์  ด้วงวิเศษ (2543 : 9)  สรุป
ความสำคัญของหลักสูตรว่า
หลักสูตรมีความสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นเอกสารที่กำหนด
แนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
ทุกฝ่ายต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีประสิทธิภาพตามที่พึงประสงค์
ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
 
                            จากความสำคัญของหลักสูตรข้างต้น สรุปว่า หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะ หลักสูตรเป็นเอกสารซึ่งเป็นแผนการหรือโครงการจัดการศึกษาที่ระบุแนวทาง
การจัดมวลประสบการณ์
   เป็นส่วนกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาให้กับบุคลากรที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ
  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษาตาม
เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่หลักสูตรกำหนดไว้
                   3.      องค์ประกอบของหลักสูตร
                           ในการพัฒนาหลักสูตรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของหลักสูตร  ประกอบด้วยส่วนต่างๆ  ที่มีความสอดคล้อง และมีความสัมพันธ์กัน โดย เคอร์
(
Kerr. 1976 : 16 - 17)   ได้นำเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้  4  ส่วน  ได้แก่ 
1)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  2) เนื้อหาสาระ  3) ประสบการณ์การเรียน และ 4) การประเมินผล   ซึ่งสอดคล้องกับ ทาบา (Taba. 1962 : 10)  ที่ได้เสนอองค์ประกอบ
ของ
หลักสูตรไว้ว่า  หลักสูตรไม่ว่าจะสร้างขึ้นในลักษณะใด  ย่อมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมาย  2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอน และ 4)  การประเมินผล
                           จากการศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร ตามที่นักการศึกษาได้กำหนดไว้  สรุปได้ว่า นักการศึกษาได้นำเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้มีความสอดคล้องกัน โดยองค์ประกอบของหลักสูตรที่สำคัญมี  ส่วน  คือ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 
2)
เนื้อหาสาระ  3) กระบวนการจัดการเรียนรู้   และ  4)  การประเมินผล
                   4.     แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
                           นักการศึกษาหลายท่าน ได้อธิบายความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
ไว้คล้ายคลึงกัน
ซึ่งสรุปได้ว่า  การพัฒนาหลักสูตรมีความหมายใน  2  ลักษณะ คือ   ลักษณะที่ เป็นการทำหลักสูตร  ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และลักษณะที่ เป็นการจัดทำ
หลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน
  (Sowell. 1996 : 16)
                           จากความหมายดังกล่าว  พบว่า  การพัฒนาหลักสูตรนั้น
มีความหมายที่ครอบคลุมในหลายมิติ 
ตั้งแต่ การวางแผนหลักสูตร จัดทำหลักสูตร
หรือยกร่างหลักสูตร (
Curriculum planning) การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตร
ไปสู่การปฏิบัติ (
Curriculum  implementation) และการประเมินผลหลักสูตร
(
Curriculum evaluation) การพัฒนาหลักสูตรให้ดีและมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับ
ประสิทธิภาพในแต่ละมิติว่ามีประสิทธิภาพ
มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ รายละเอียดของมิติ
ในการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
                           การวางแผนจัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร   ประกอบด้วย    การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  การกำหนดจุดมุ่งหมาย  การกำหนดเนื้อหาสาระและ
ประสบการณ์การเรียนรู้
  การกำหนดการวัดและประเมินผล  การนำหลักสูตรไปใช้
หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ
 ประกอบด้วย  การจัด ทำรายละเอียดของหลักสูตร เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การผลิตและการใช้
สื่อการเรียน
การสอน  การเตรียมบุคลากร  การบริหารหลักสูตรและการสอนตาม
หลักสูตร
  การประเมินผลหลักสูตร ประกอบด้วย  การประเมินเอกสารหลักสูตร  การประเมินการใช้หลักสูตร  การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร  และการประเมิน
หลักสูตรทั้งระบบ  โอลีวา (Oliva. 1992 : 14 – 15)
                จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร พบว่า การพัฒนา
หลักสูตรเป็นการทำหลักสูตร
ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือเป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน เป็นกระบวนการที่เป็นระบบเชื่อมโยงกันในมิติต่างๆ ได้แก่  การวางแผนจัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผล
หลักสูตร
 

 

 
เอกสารอ้างอิง

 
ชมพันธุ์   กุญชร    อยุธยา.  การพัฒนาหลักสูตร.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศ, 2540.
ปฎล  นันทวงศ์ และ ไพโรจน์  ด้วงวิเศษ.  หลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   
สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา, 2543.
รุจิร์  ภู่สาระ. การพัฒนาหลักสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา.  กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์, 2545.
สุมิตร  คุณานุกร. หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์
                
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
Beane , James A , Toepler , Jr. Conrad F. and Alessi , Jr. Samuel J. Curriculum Planning and
                   Development. Massachusette : Allyn and Bacon , 1986.
Kerr . Joseph and Keneth. “Metting the Changing Need of Adoults Through Education
                   Programes and Services,”  Dissertation Adstracts Interrational. 36  (10) :
                   6424 – A.  April 1976.
Oliva , Peter F. Developing The Curriculum 3 rd ed. New York :
                   Harper Collins Publishers, 1992.
Saylor , J.Galen , Alexander , William M. and Lewis , Arthur J. Curriculum Planing
                   for Better
Teaching and Learning. New York : Holt Rinehart
                   and Winston, 1981.
Sowell , Evelys , J. Curriculum An Integrative Introduction. New Jersey :
                   Prentice Hall , 1996.
Taba , Hilda . Curriculum Development : Theory and Practice . New York :
                  Harcourt Brace  and  World, 1962.