วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

บทความวิชาการ : รูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร มีรูปแบบหลายรูปแบบ และหลายขั้นตอน   การแสวงหารูปแบบในการ
พัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็น
  เพราะ  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเปรียบเสมือน
พิมพ์เขียวที่มุ่งชี้ต่อการพัฒนาหลักสูตรให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
   การนำรูปแบบการพัฒนา
หลักสูตรมาใช้จะต้องมีการเลือกหรือปรับใช้ให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิต       และ
สังคมของผู้ใช้  หลักสูตร โดยแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรนั้น มีหลายรูปแบบ
  ได้แก่
                            ไทเลอร์  (Tyler. 1949 : 1)  ได้ให้แนวคิดในวางแผนโครงร่างหลักสูตร  โดยใช้
วิธี
Means - Ends Approach  เป็นหลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรและการสอน ที่เน้น
การตอบคำถามพื้นฐาน
4 ประการ
1.       มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาจะต้องกำหนด
ให้ผู้เรียน
2.       มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อช่วย
ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ 
3.       จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร  จึงจะทำให้การสอนมี
ประสิทธิภาพ
4.       จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการศึกษาอย่างไร
จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
                            จากคำถามทั้ง  4  ข้อ  ชี้ให้เห็นว่า การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร  ต้องคำนึงถึง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณทางการศึกษา
ให้แก่ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร
                            การกำหนดจุดมุ่งหมาย  ไทเลอร์  ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ต่างๆว่า  นักพัฒนาหลักสูตร
ควรกำหนดจุดประสงค์ทั่วไป
(General Objectives)  โดยศึกษาข้อมูล 3 แหล่ง คือ เนื้อหาวิชาจากผู้เชี่ยวชาญ   ข้อมูลผู้เรียน และข้อมูลสังคม จุดประสงค์ทั่วไปนี้ จะเป็นจุดประสงค์ชั่วคราว (Tentative Objectives)   จากจุดประสงค์ชั่วคราว   จะถูกกลั่นกรอง จากข้อมูลด้านปรัชญาการศึกษา  ปรัชญาสังคม  ที่สถานศึกษา
ยึดถืออยู่ และด้านจิตวิทยาการเรียนรู้      ซึ่งจะตัดทอนจุดประสงค์ที่ไม่จำเป็นออก และ
ทำให้จุดประสงค์มีความชัดเจนขึ้น จุดประสงค์ที่ได้นี้จะเป็นจุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตร
   จากนั้นจึงเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียน เพื่อให้
บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น และกำหนดการประเมินผลหลักสูตร
     
                            เซย์เลอร์  อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Saylor , Alexander and Lewis. 1981 : 28 - 39)   ได้
เสนอรูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร มีขั้นตอน รายละเอียดในการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
                                      1.  เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และขอบเขต (Goals , Objectives and Domains)
นักพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นสิ่งแรก เป้าหมายในแต่ละ
ประเด็นควรบอกถึงขอบเขตของหลักสูตร
  เซย์เลอร์  อเล็กซานเดอร์ และเลวิส ได้เสนอขอบเขตที่สำคัญ
4  ขอบเขต ได้แก่ พัฒนาการส่วนบุคคล (Personal Development)  มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)  ทักษะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง (Continued Learning Skills) และความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)    ทั้งนี้  อาจจะมีขอบเขตที่สำคัญอื่นๆอีก ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรสามารถพิจารณา
ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และลักษณะของสังคม
 เป้าหมาย  จุดมุ่งหมาย และขอบเขต   จะถูกคัดเลือก
จากการพิจารณาตัวแปร
ภายนอก  (External Variables) อย่างรอบคอบ ได้แก่  ทัศนะและความต้องการ
ของสังคม
   ข้อบังคับทางกฎหมายของรัฐ ข้อค้นพบจากงานวิจัย ปรัชญาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้าน
หลักสูตร เป็นต้น
                                      2.  การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)  หลังจากที่ได้กำหนดเป้าหมายและ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว  นักพัฒนาหลักสูตรต้องวางแผนออกแบบหลักสูตร ตัดสินใจเลือกและจัด
เนื้อหาสาระ เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ รูปแบบหลักสูตรที่
เลือกแล้ว
   ควรให้มีความเหมาะสม  สอดคล้องกับ  เป้าหมาย  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 
รวมทั้งความต้องการของผู้เรียน ลักษณะของสังคม
  ตลอดจนข้อกำหนดต่างๆของสังคม  และปรัชญาการศึกษา
                                      3.  การใช้หลักสูตร (Curriculum Implementation)  หลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบ
ของหลักสูตรแล้ว
   เป็นขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้  ครูผู้สอนควรวางแผน และจัดทำแผนการสอน
ในรูปแบบต่างๆ โดยเลือกวิธีการสอน และวัสดุสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามที่ได้กำหนดไว้
                                      4.  การประเมินผลหลักสูตร (Curriculum Evaluation) การประเมินผลหลักสูตร
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของรูปแบบนี้
       นักพัฒนาหลักสูตร และครูผู้สอนจะต้องตัดสินใจเลือกเทคนิค
การประเมินผลที่สามารถตรวจสอบความสำเร็จของหลักสูตร คือ
   สามารถบอกได้ว่าหลักสูตรบรรลุ
เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
  การประเมินผลหลักสูตรควรเน้นการประเมินตัวหลักสูตร
คุณภาพการสอน และพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลจากการประเมินจะช่วยให้นักพัฒนา
หลักสูตรสามารถตัดสินใจได้ว่า จะใช้หลักสูตรนี้ต่อไป
  ควรปรับปรุงแก้ไขหรือควรจะยกเลิกหลักสูตรดังกล่าว
                            โอลิวา (Oliva. 1992 : 171 - 175)   ได้เสนอแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร โดยเสนอ
องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร
12 องค์ประกอบ และมีการดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
                                      1.   กำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษา ปรัชญา และหลักจิตวิทยาการศึกษา
ซึ่งเป้าหมายนี้เป็นความเชื่อที่ได้มาจากความต้องการของสังคม และผู้เรียน
                                          2.   วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ผู้เรียน และเนื้อหาวิชา
          3.   กำหนดจุดหมายของหลักสูตร
                                          4.   กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  5.   จัดโครงสร้างของหลักสูตร และนำหลักสูตรไปใช้
         6.   กำหนดจุดหมายของการเรียนการสอน
         7.   กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
         8.   เลือกยุทธวิธีการจัดการเรียนการสอน
         9.   เลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน
   10.  นำยุทธวิธีการจัดการเรียนการสอนไปใช้
   11.  ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
   12.  ประเมินผลหลักสูตร
                 จากแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า รูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ    โดยในแต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมเ
พื่อการจัดทำหลักสูตร ให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน
  สภาพการณ์ของสังคม     จาก
รูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรข้างต้น ในภาพรวมมีความคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียง
ในรายละเอียด
   ในที่นี้สามารถสังเคราะห์รูปแบบ และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร    เพื่อเป็น
กรอบแนวคิดทางทฤษฎี
ในการพัฒนาหลักสูตร  ขั้นตอนได้แก่
                           1.  การศึกษาความต้องการของผู้เรียน  สังคมชุมชน   เนื้อหาวิชา  รวมทั้งปรัชญาทางการศึกษา   จิตวิทยาการศึกษา รวมทั้งกฎเกณฑ์ข้อระเบียบต่างๆ   เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเป็นขั้นตอนการศึกษาสภาพทั่วไปก่อนการพัฒนาหลักสูตร
                          2.  กำหนดหลักการ เป้าหมาย  จุดประสงค์ของหลักสูตร  การจัดเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน
       3.  การนำหลักสูตรไปใช้
       4.  การวัดผลและประเมินผล 

เอกสารอ้างอิง

Oliva , Peter F. Developing the Curriculum. 3 rd ed. New York : Harper Collins Publisher , 1992.
Saylor , Galen J., Alexander , William M. & Lewis , Arthur J. Curriculum Planning for Better
                   Teacher and Learning. 4 th ed. New York : Holt Rinehart and Winston , 1981.
Tyler, Ralph W. Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : University of
                   Chicago Press, 1949

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น