วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

บทความวิชาการ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
                    ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
                            คำว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
                                    Kemmis and McTagart (1990) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ  การรวบรวมปัญหาหรือ
คำถาม  จากการสะท้อนการปฏิบัติการของผู้ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ในสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อ   
ต้องการพัฒนาหาหลักการ เหตุผล และวิธีการปฏิบัติงาน   เพื่อให้ได้รูปแบบหรือแนวทางนำไปใช้ใน
การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานนั้น และในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาความเข้าใจ   เกี่ยวกับการ
ปฏิบัติงานให้มีความสอดคล้องกับภาวะของสังคมและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                                    ปริญญา  อุปลา (2545) ได้ให้ความหมายว่า คือ  การพยายามในการทำความเข้าใจ
ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทของงานที่ปฏิบัติด้วยมุมมองเพื่อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา โดย
ใช้ยุทธศาสตร์ การวางแผน การรวบรวมข้อมูล การประเมินผล  เพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
นำไปสู่ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
                            จากการศึกษาข้อมูลสรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ หมายถึง   กระบวนการแสวงหา
ความรู้จากสถานการณ์จริงอย่างเป็นระบบ  ด้วยกระบวนการ การวางแผน การรวบรวมข้อมูล และ
การประเมินผล  เพื่อจะนำข้อมูลมาแก้ปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น 
                            ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
                                    ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการนั้น  มีนักวิชาการอธิบายลักษณะสำคัญ
ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
                                    Kemmis and McTagart (1990)   ได้สรุปลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ไว้ดังต่อไปนี้
                            1. เป็นวิธีปรับปรุงการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง                                 
                                 และเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงนั้น
                            2. เป็นการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานเอง  เพื่อการพัฒนางานของตนเอง
                                 และกลุ่มอาชีพของตนเอง
                            3. เป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเป็นวงจร  โดยเริ่มจาก
                                 การวางแผน  การปฏิบัติตามแผน    การสังเกต  และการสะท้อนผล 
                                 เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ  จนกว่างานนั้น จะได้รับการปรับปรุงตามที่ต้องการ
                            4. ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เน้นกระบวนการกลุ่ม
                            5. เกิดจากความเต็มใจ และเห็นความสำคัญ ของการปรับปรุงพัฒนางานของ
                                                 ตนเอง
                            6. การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยใช้ความรู้ และประสบการณ์ของ
                                ผู้ปฏิบัติงานหรือกลุ่มวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานเอง  ภายใต้เงื่อนไข และ
                                สภาพแวดล้อมที่เป็นจริงมากกว่าจะเชื่อตามหรืออ้างอิงทฤษฎีจากภายนอก
                                เพียงอย่างเดียว
                                            7. เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นสูง  มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
                                                 การปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับข้อมูลและสถานการณ์ในขณะนั้น
                            8. เน้นการสังเกตและบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลา  เพื่อนำมา
                                วิเคราะห์และ สรุปผลที่ถูกต้อง
                            9. เน้นทั้งผลที่เกิดขึ้นและกระบวนการปฏิบัติงาน
                            10. เน้นวิธีการเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ
                                    ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล (2543)  ได้อธิบายลักษณะสำคัญของการวิจัยเ
ชิงปฏิบัติการว่า  มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
                                            1. เป็นการวิจัยที่เรียกว่า Self – Reflective Inquiry  คือ ไม่ได้มุ่งพัฒนาความรู้ใหม่  
แต่จุดเน้นอยู่ที่การมองสะท้อนกลับสภาพการณ์หรือปัญหาที่เผชิญอยู่
                                            2. เป็นการดำเนินการวิจัย โดยผู้ที่มีส่วนร่วมภายในหน่วยงานหรือองค์กรนั้น 
โดยเป็นการวิจัยร่วมกันของบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
                                            3. เป็นการวิจัย เพื่อหวังผลในการปรับปรุง พัฒนาวิธีการปฏิบัติในหน่วยงาน
หรือองค์กรนั้นๆ  เพื่อการพัฒนาตามแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
                                    จากการศึกษาสรุปได้ว่า  ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการดำเนินการ
ศึกษา และปฏิบัติร่วมกัน แบบมีส่วนร่วมของบุคคลภายในองค์กร โดยผ่านการวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างเป็น
ระบบตามสภาพจริง เพื่อมุ่งหวังในการแก้ปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
                            รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
                                    รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   สามารถนำเสนอแนวคิดรูปแบบที่นักวิชาการได้มี
การนำเสนอไว้ ดังนี้
                Zuber-Skerrit (1992) เสนอรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการว่า  การวิจัย
เชิงปฏิบัติการมีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Plan)  ขั้นปฏิบัติตามแผน (Act)  
ขั้นสังเกตผล (Observe)  และขั้นสะท้อนผล (Reflect) 
                                    สุรีย์พร  พานิช (2546) ได้อธิบายเกี่ยวกับรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
                                            รุปแบบที่ 1  แนวคิดของ  Lewin  รูปแบบแห่งการวางแผน  คือ   การค้นหา
ความจริง และการปฏิบัติ  เป็นกระบวนการเสนอชุดของการตัดสินใจแบบบันไดเวียนบนพื้นฐาน
ของการทบทวนวงจร การวิเคราะห์  การสำรวจ การทบทวนปัญหา การวางแผน  การส่งเสริม
การปฏิบัติทางสังคม และการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติ             แนวคิดของ Lewin  คือ   
กระบวนการทางสังคม ที่สามารถได้รับการศึกษา     โดยมีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงและสังเกต
อย่างเป็นวิทยาศาสตร์    ผลที่ได้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น   การดำเนินการเช่นนี้ คล้ายกับ
แนวคิดของ Scriven ในเรื่องของการประเมินเพื่อการปรับปรุงงาน  งานวิจัยจะเริ่มต้นด้วย แนวคิด
ทั่วไปหรือปัญหา  การค้นหาทางแก้ของปัญหา  โดยผลการสำรวจทั้งหมดในแต่ละแผนจะเป็น
แนวทางเพื่อจะหาวิถีทางในการแก้ปัญหา    ทั้งนี้   แผนปฏิบัติงานที่วางไว้จะเป็นเครื่องมือ และ
เครื่องเตือน ในการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน สู่การวางแผนขั้นต่อไป
                                            รูปแบบที่ 2      มีนักการศึกษาเสนอไว้ 2 รูปแบบ  ได้แก่   Elliott และ Ebbutt   
 โดยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Elliott  เน้นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ อยู่ที่ความคิด  ซึ่งเป็น
ของผู้วิจัยที่จะตีความ  เพื่อความเข้าใจในการทำงาน บนปัญหาของการปฏิบัติและการอธิบายในส่วน
รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Ebbutt  ได้กล่าวอ้างว่า  บันไดเวียนไม่ใช่เรื่องที่มีประโยชน์มาก
เท่าใดในการเปรียบเทียบเพื่อใช้ในการคิดของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ      โดยได้ให้เหตุผลว่า
หนทางที่ดีที่สุดของการคิดคือ กระบวนการ หมายถึง  ชุดของวงจรที่ต่อเนื่องกันหลายๆชุด  แต่ละชุด
จะให้ความเป็นไปได้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับจากการประเมินภายใน และระหว่างวงจรปฏิบัติ
                                            รุปแบบที่ 3 แนวคิดของ Kemmis    ได้พัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
โดยมีแนวคิดว่า การได้รับกระบวนการที่เป็นชุดของการสะท้อนกลับโดยบันไดเวียนคือการวางแผน
ในการปฏิบัติ การสังเกต การปฏิบัติสะท้อนกลับ  การปฏิบัตินั้น เท่ากับเป็นการได้รับการพัฒนาและ
เคลื่อนที่ไปสู่วาระใหม่ที่มีการทบทวนการสังเกตและการสะท้อนกลับ จัดแบ่งได้ 4 ขั้นตอน คือ
                                                      1. ขั้นวางแผน
                                                      2. ขั้นปฏิบัติ
                                                      3. ขั้นเก็บข้อมูลหรือสังเกต
                                                      4. ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ
                            จากการศึกษาข้อมูลรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการสรุปได้ว่า   การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
เป็นรูปแบบที่มีกระบวนการเคลื่อนหมุนไม่หยุดนิ่งในลักษณะของเกลียวสว่านของ  4 จุดสำคัญ 
 คือ การวางแผน การปฏิบัติ  การสังเกต และ การสะท้อนผล 

                                                                                                              
                        

เอกสารอ้างอิง
ปริญญา  อุปลา. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
                    ระดับประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนบ้านพุทธรักษา จังหวัดสกลนคร. ปริญญานิพนธ์
                    ศศ.ม. (ประถมศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล. การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543.
สุรีย์พร  พานิช. รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
                    กระบวนวิชาหลักการธุรกิจศึกษา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (อาชีวศึกษา). เชียงใหม่ :
                    บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.
Kemmis, S and , McTagart. The Action Research Planner. Geelong:Deakin  University Press,
1990.
Zuber-Skerrit,  O.  Action Research in Higher Education.  London  :  Kogan Page, 1992.








บันทึกงาน เดือนธันวาคม 2554

วันที่ 9 ธันวาคม 2554 : ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่งานทะเบียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อชี้แจงการจัดทำข้อมูลรายชื่อผู้จบ เพื่อการเข้าทดสอบ N- Net  ณ สำนักงาน กศน. จังหวัดตราด
วันที่ 13 ธันวาคม 2554 : (แทน) ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดตราด ประชุมกลุ่มสำนักงาน กศน. จังหวัด (กลุ่มสุดฝั่งบูรพา) เพื่อคัดเลือกบุคลากร / หน่วยงาน / เครือข่าย / สถานศึกษา ที่จัดและ/หรือ สนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยดีเด่น ประจำปี ณ สำนักงาน กศน จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 21 ธันวาคม 2554 : (แทน) ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน. จังหวัดตราด ต้อนรับและร่วมให้ข้อมูลแก่คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะฯ วุฒิสภา
ณ ห้องประชุมพลอดแดง ศาลากลางจังหวัดตราด
วันที่ 14 - 30 ธันวาคม 2554 : สรุปและอภิปรายผล การประเมินคุณภาพการบริการห้องสมุดประชาชน ภายใต้สังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดตราด ตามนโยบาบ 3 ดี  ผลการสรุปและอภิปรายผล เสรจเรียบร้อย นำเสนอ เพื่อการเผยแพร่ต่อไป